Friday, 10 April 2020

Video from Youtube Channel

Video from Youtube Channel

5 BEST AUGMENTED REALITY TECH 2018
 


Video from My Channel ของ อรพรรณ สมศรี

Video จาก My Channel
คำศัพท์ภาษาองกฤษสำหรบนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 Part 1 Wannabe Kids






Saturday, 4 April 2020

Development of Effective Teacher Program: Teamwork Building Program for Thailand's Municipal Schools (Resource :: ERIC)

Development of Effective Teacher Program: Teamwork Building Program for Thailand's Municipal Schools


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโปรแกรมการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพในโรงเรียนเทศบาลในประเทศไทย   ได้มีการสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันและปัญหาต่างๆเพื่อวางแผนพัฒนาโปรแกรมให้มีศักยภาพ  กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มเลือกจากโรงเรียนเทศบาลโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเพื่อตรวจสอบสถานการณ์และปัญหาขององค์กร   โปรแกรมสำหรับการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพเป็นวิธีการปรับปรุงสภาพการทำงานของครูโดยต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของครูทุกคน  การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นข้อมูลเชิงพรรณนาโดยใช้การสังเกตโดยตรงและแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ผลปรากฏว่า  ประสิทธิผลของโปรแกรมอยู่ในระดับมีความพึงพอใจสูงเนื่องจากมีการใช้งานที่หลากหลายสำหรับบริบทบางอย่างได้   การทำงานร่วมกันเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรม  ( Chantathai and others , 2015)



Chantathai  and others , International Education Studies, v8 n9 p138-147 2015



Chantathai, Pimpka; Tesaputa, Kowat; Somprach, Kanokorn
International Education Studies, v8 n9 p138-147 2015
This research is aimed to formulate the effective teacher teamwork program in municipal schools in Thailand. Primary survey on current situation and problem was conducted to develop the plan to suggest potential programs. Samples were randomly selected from municipal schools by using multi-stage sampling method in order to investigate their organization's situation and problem. Program for effective teamwork is an approach to enhance their working condition using collaboration of all teachers. Data analysis was the descriptive data using direct observation and questionnaire as data collection tools. Effectiveness of the program was reported in high satisfaction level due to its various applications for certain context. Collaboration was a key factor to enhance program effectiveness because of core values that participants held to achieve mutual goals. Suggestion in future study related to this research deals with administrators and organization's sponsorship for their teachers' awareness in team building for organizational effectiveness. Moreover, application of this research method on other types of organization may yield different research findings worth for investigation.
Canadian Center of Science and Education. 1120 Finch Avenue West Suite 701-309, Toronto, ON M3J 3H7, Canada. Tel: 416-642-2606 Ext 206; Fax: 416-642-2608; e-mail: ies@ccsenet.org; Web site: http://www.ccsenet.org/journal/index.php/es
Publication Type: Journal Articles; Reports - Research
Education Level: N/A
Audience: N/A
Language: English
Sponsor: N/A
Authoring Institution: N/A
Identifiers - Location: Thailand

Teacher Leadership and Teaming: Creativity within Schools in China (Resource : ERIC)

Teacher Leadership and Teaming: Creativity within Schools in China
การที่จะทำให้เด็กและเยาวชนให้กลายเป็นคนที่มีความกระตือรือร้น และมีความรับผิดชอบ เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลกปัจจุบัน ซึ่งโรงเรียนต้องมีการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนอย่างรวดเร็ว   การจะทำให้เป้าหมายนี้สำเร็จได้ ความท้าทายอยู่ที่ นโยบายการศึกษาและโครงสร้างของโรงเรียน ซึ่ง ถือว่าเป็นอุปสรรคขัดขวางการทำงานเป็นทีมและการคิดอย่างสร้างสรรค์   ถึงแม้ว่าจะมีความท้าทายอันเนื่องมาจาก ด้านนโยบายการศึกษา  โครงสร้างสถานศึกษา  และความคาดหวังเกี่ยวกับวัฒนธรรมของครู    การมีภาวะผู้นำของครูผู้สอน และ การทำงานเป็นทีม นั้นได้เกิดขึ้นแล้วในหลายๆประเทศ  ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้ ได้นำเสนอประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการศึกษาในประเทศจีน ซึ่งได้รวบรวมมาจากการจากการสังเกตการณ์ในโรงเรียน และการสัมภาษณ์ครูและผู้บริหารในโรงเรียน  ความเชื่อที่เป็นที่นิยมนั้นมีอยู่ว่า การศึกษาของจีนนั้นถดถอยลง การเรียนรู้เกี่ยวกับหุ่นยนต์กำลังจะหายไป (Mullen and others , 2018)


Mullen and others , Research in Educational Administration & Leadership, v3 n2 p231-236 Dec 2018




Mullen, Carol A.; Browe-Ferrigno, Tricia
Research in Educational Administration & Leadership, v3 n2 p231-236 Dec 2018
Preparing today's children and youth to become active, responsive adults in transforming global societies requires that schools change dramatically. To work towards this goal is daunting in light of educational policies and school structures that hinder teamwork and creativity. Despite challenges due to education policies, traditional school structures, and teacher-culture expectations, teacher leadership and teamwork have nonetheless emerged in many countries. This article reports interesting and even surprising preliminary findings about education in China gathered through onsite school observations and interviews with teachers and principals. The popular belief that Chinese education is uniformly creatively impoverished and that schools are nothing but robotic learning environments are dispelled.
EARDA Turkish Educational Administration Research & Development Association. Dokuz Eylul University, Buca Faculty of Education, Izmir, Turkey 35150. e-mail: eyedderinfo@gmail.com; Web site: http://dergipark.gov.tr/real
Publication Type: Journal Articles; Reports - Evaluative
Education Level: Elementary Secondary Education
Audience: N/A
Language: English
Sponsor: US Department of State
Authoring Institution: N/A
Identifiers - Location: China
Grant or Contract Numbers: 6219

Teamwork and Entrepreneurial Behavior among K-12 Teachers in the United States (Based on ERIC)


Amorim Neto, Roque do CarmoPicanço Rodrigues, Vinícius; Campbell, Kathryn; Polega, Meaghan; Ochsankehl, Torrie
Educational Forum, v84 n2 p179-193 2020
This study attempted to identify the predictors of entrepreneurial behavior by assessing a series of variables that included teamwork skills and demographic variables, and to explore teachers’ experiences with teamwork. A sample of 367 K-12 public school teachers completed the survey. The findings indicated that teamwork predicts entrepreneurial behavior. Most participants received teamwork training through their school districts. Barriers to teamwork included time constraints, individual differences, and inability to collaborate.



Routledge. Available from: Taylor & Francis, Ltd. 530 Walnut Street Suite 850, Philadelphia, PA 19106. Tel: 800-354-1420; Tel: 215-625-8900; Fax: 215-207-0050; Web site: http://www.tandf.co.uk/journals
Publication Type: Journal Articles; Reports - Research
Education Level: Elementary Secondary Education
Audience: N/A
Language: English
Sponsor: N/A
Authoring Institution: N/A

Friday, 3 April 2020

ไฟลบทความ บทวิจารณ์หนังสือ “การบริหารทีมงาน (On Teams)"

ไฟลบทความ 

https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/209733/145194



ไฟล์บทความเรื่อง The Model of the Academic Coordination Team to Build Livable Communities Project

ไฟล์บทความเรื่อง 

https://so01.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal/article/view/110834/86796

ไฟล์ บทความเรื่องบทบาทของผู้บริหารกับการสร้างทีมงานในการพัฒนาองค์การ


ไฟล์บทความ เรื่องบทบาทของผู้บริหารกับการสร้างทีมงานในการพัฒนาองค์การ
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/110472/86619

รูปแบบการดําเนินงานของทีมประสานวิชาการโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ จังหวัดนครศรีธรรมราช (สืบค้นจาก Thaijo)

รูปแบบการดําเนินงานของทีมประสานวิชาการโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

กําไล สมรักษ์
อุไร จเรประพาฬ

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานของทีมประสานวิชาการโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ทีมประสานวิชาการ 14 คน ผู้รับผิดชอบโครงการของชุมชน 14 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต สัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบรูปแบบการดำเนินงานของทีมประสานวิชาการที่สนับสนุน โครงการสร้างชุมชนให้น่าอยู่ ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาข้อเสนอโครงการ เน้นการทำงานร่วมระหว่างทีมประสานวิชาการ ผู้รับผิดชอบโครงการ และชุมชน ระยะที่ 2 การดำเนินโครงการ เน้นการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามตัวชี้วัด ระยะที่ 3 การประเมินผล โดยประเมินตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ และความเข้มแข็งของชุมชน เป็นผลจากการสนับสนุนทั้งจากชุมชนและทีมประสานวิชาการ ดังนี้ 1) ทีมประสานวิชาการ มีทักษะที่สนับสนุนการสร้างชุมชนให้น่าอยู่เพิ่มขึ้น เพิ่มเครือข่ายและประสิทธิภาพงาน 2) ผู้รับผิดชอบโครงการ สามารถเป็นผู้นำดำเนินโครงการจนบรรลุตามตัวชี้วัด เพิ่มเครือข่าย และต่อยอดงานได้ 3) ชุมชน มีแกนนำที่มีศักยภาพในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เกิดการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงตามตัวชี้วัด 4) ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงาน ได้แก่ ทีมงานที่เข้มแข็ง ความมุ่งมั่นของทีมงานในการพัฒนาชุมชน การบูรณาการสู่งานประจำ และ 5) ความท้าทายของการพัฒนาชุมชนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ในอนาคต คือ ความเข้าใจในบริบทชุมชน การประสานงานที่มีประสิทธิภาพ และการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ชุมชนมีส่วนร่วมจนสามารถจัดการตนเองได้

Book Reviews "Team Management (On Teams)" สืบค้นจาก Thaijo

Book Reviews "Team Management (On Teams)"

Main Article Content

Surasak Chamaram

Abstract

ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การทำงานเป็นทีมหรือการบริหารทีมงานเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับทุกๆองค์การทั้งในส่วนขององค์การภาครัฐและองค์การภาคเอกชน ตลอดจนองค์การอื่นๆ เช่น องค์การที่ไม่แสวงหาผลกำไร (NGOs) เป็นต้น เพราะจะก่อให้เกิดการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารภายในองค์การ ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของสมาชิกในองค์การ ทำให้ทีมงานมีลักษณะเป็นทีมงานที่มีความเข้มแข็งและประสิทธิภาพ มีทิศทางที่ชัดเจน ตลอดจนมีโครงสร้างที่เอื้อต่อความสำเร็จ ทำให้สมาชิกแต่ละคนขององค์การมีความรับผิดชอบในการทำงานของตนเอง และรับผิดชอบการทำงานร่วมกันภายใต้จุดมุ่งหมายเฉพาะที่ทีมงานต้องการให้บรรลุผล ทั้งนี้ เพื่อการขับเคลื่อนองค์การไปสู่ความสำเร็จตามภารกิจและเป้าหมายที่วางเอาไว้ แต่อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่ามีองค์การจำนวนไม่น้อยในปัจจุบันที่ต้องประสบความล้มเหลวในการบริหารทีมงาน อันเนื่องมาจากเหตุผลสำคัญเช่น ผู้บริหารบางคนเลือกสมาชิกเข้ามาร่วมในทีมด้วยเหตุผลทางการเมืองภายในองค์การเป็นสำคัญ จึงทำให้ได้ทีมงานที่ไม่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพออกมา และไม่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของสมาชิกภายในองค์การ ขณะเดียวกันผู้บริหารบางคนชอบทำงานโดยอิสระส่วนตัว ไม่ชอบยุ่งหรือหมกมุ่นอยู่กับการทำงานเป็นทีม และไม่เต็มใจที่จะหาทางออกด้วยการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับคนอื่น เป็นต้น

            ดังนั้น หนังสือเรื่อง การบริหารทีมงาน (On Teams) ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังสือชุดคัมภีร์สำหรับผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงชั้นนำของโลกเล่มนี้ จึงเป็นหนังสือที่สามารถตอบโจทย์ในประเด็นการบริหารทีมงานของบรรดาองค์การทั้งหลายในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นหนังสือที่ถือเป็นผลงานเขียนชิ้นสำคัญที่เป็นแหล่งรวบรวมรากฐานองค์ความรู้ทางการบริหารจากคณาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 ท่าน ที่เพียบพร้อมไปด้วยประสบการณ์ในด้านต่างๆที่ได้ทำการวิจัย และได้กลั่นกรองออกมาจนกลายเป็นผลงานทางวิชาการที่มีเนื้อหาเข้มข้น ทันสมัย และลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้ได้มีการตีพิมพ์จำหน่ายทั่วโลกมาแล้วตั้งแต่ในปี ค.ศ. 2013 ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะถูกแปลเป็นฉบับภาษาไทยโดยณัฐยา สินตระการผล และดำเนินการจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์เอ็กซเปอร์เน็ท พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2560 ความยาวจำนวน 354 หน้า ถือได้ว่าเป็นหนังสืออ่านในเชิงกึ่งวิชาการประเภทแนะนำวิธีการ (How to) ที่มีเนื้อหาเข้มข้น ทันสมัย และน่าสนใจอีกเล่มหนึ่งเกี่ยวกับการบริหารทีมงาน

            สำหรับวัตถุประสงค์สำคัญของหนังสือเล่มนี้คือ เพื่อต้องการนำเสนอให้เห็นถึงกรอบความคิดใหม่และการบริหารจัดการทีมงานในแนวทางใหม่ๆ หลากหลายมิติ เช่น การสร้างทีมงานชั้นยอด การสร้างความฉลาดทางอารมณ์ของทีม ทีมผู้เชี่ยวชาญ การจูงใจพนักงานด้วยความสำเร็จอย่างค่อยเป็นค่อยไป การบริหารทีมที่มีวัฒนธรรมหลากหลาย เป็นต้น พร้อมทั้งคำอธิบายรายละเอียดประกอบตัวอย่างการปฏิบัติอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ทั้งนี้ คาดหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะสามารถช่วยให้ผู้บริหารองค์การ ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆนำไปใช้ในการพัฒนากรอบความคิดใหม่และการบริหารจัดการแนวทางใหม่ๆ เพื่อเป็นคู่มือนำทางไปสู่การบริหารทีมงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสบอย่างยั่งยืนในโลกที่มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเช่นในปัจจุบัน

บทบาทของผู้บริหารกับการสร้างทีมงานในการพัฒนาองค์การ (ThaiJo)



กนกพร กระจ่างแสง
เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน
นลินณัฐ ดีสวัสดิ์

Abstract

บทคัดย่อ

             ผู้บริหารถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญมากสำหรับองค์การที่ต้องดำเนินงานภายใต้สิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงและมีการแข่งขันที่สูงขึ้น   การทำงานเป็นทีมนับได้ว่าเป็นเทคนิคหนึ่งในการพัฒนาองค์การที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย  ดังนั้น บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทบาทของผู้บริหารองค์การ  รวมถึงการสร้างทีมงานที่มีศักยภาพในการทำงาน  ทั้งนี้ก็เพื่อการพัฒนาองค์การที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนโดยใช้วิธีการศึกษาแบบทบทวนวรรณกรรมซึ่งในบทความมีการนำเสนอถึงความสำคัญของผู้บริหารที่มีต่อองค์การ  การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิผล  ตลอดจนการทำงานเป็นทีมและแนวคิดในการพัฒนาองค์การ

 คําสําคัญ :  ผู้บริหาร, การสร้างทีมงาน, การพัฒนาองค์การ

 Abstract

                 Manager  play’ an important role in the organization  which operates under changing environment  and high competition. Teamwork is one of well–known techniques for organization development which has  been widely used. Therefore, the objective of this article are  to present the manager’s role and to build  the  potential teamwork for efficient  and  sustainable  of organization  development using literature review to present the importance of manager towards organization, including and teamwork and organization development concept.

 Keyword:  Managers, Team Building, Organization Development

การใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมของเยาวชนในเขตอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่

การใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมของเยาวชนในเขตอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
Using dynamic activity for developing teamwork of the youth in Rongkwang district, Phrae province

Organization : ภาควิชาศึกษาพื้นฐาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ

Organization : ภาควิชาศึกษาพื้นฐาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
Classification :.DDC: 302.3
มหาวิทยาลัยแม่โจ้. สำนักหอสมุด
Address: เชียงใหม่
Email: mjudc@mju.ac.th
Role: ผู้ให้ทุน
Created: 2555
Modified: 2557-07-22
Issued: 2557-07-06
งานวิจัย/Research report
application/pdf
CallNumber: รว/ภน 302.3 ว398ก
tha
Spatial: แพร่
©copyrights มหาวิทยาลัยแม่โจ้

การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอเมืองตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด ( สืบค้นจาก Thai Digital Collection)

การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอเมืองตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด
Team working of Teachers in Muang Trat explanding opportunity schools under Trat Primary Educational Service Area Office

มหาวิทยาลัยบูรพา. สำนักหอสมุด
Address: ชลบุรี
Email: library@buu.ac.th
Role: อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
Created: 2559
Modified: 2560-01-31
Issued: 2560-01-31
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
tha
Spatial: ไทย (ภาคตะวันออก)
Spatial: ตราด
©copyrights มหาวิทยาลัยบูรพา