รูปแบบการดําเนินงานของทีมประสานวิชาการโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานของทีมประสานวิชาการโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ทีมประสานวิชาการ 14 คน ผู้รับผิดชอบโครงการของชุมชน 14 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต สัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบรูปแบบการดำเนินงานของทีมประสานวิชาการที่สนับสนุน โครงการสร้างชุมชนให้น่าอยู่ ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาข้อเสนอโครงการ เน้นการทำงานร่วมระหว่างทีมประสานวิชาการ ผู้รับผิดชอบโครงการ และชุมชน ระยะที่ 2 การดำเนินโครงการ เน้นการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามตัวชี้วัด ระยะที่ 3 การประเมินผล โดยประเมินตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ และความเข้มแข็งของชุมชน เป็นผลจากการสนับสนุนทั้งจากชุมชนและทีมประสานวิชาการ ดังนี้ 1) ทีมประสานวิชาการ มีทักษะที่สนับสนุนการสร้างชุมชนให้น่าอยู่เพิ่มขึ้น เพิ่มเครือข่ายและประสิทธิภาพงาน 2) ผู้รับผิดชอบโครงการ สามารถเป็นผู้นำดำเนินโครงการจนบรรลุตามตัวชี้วัด เพิ่มเครือข่าย และต่อยอดงานได้ 3) ชุมชน มีแกนนำที่มีศักยภาพในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เกิดการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงตามตัวชี้วัด 4) ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงาน ได้แก่ ทีมงานที่เข้มแข็ง ความมุ่งมั่นของทีมงานในการพัฒนาชุมชน การบูรณาการสู่งานประจำ และ 5) ความท้าทายของการพัฒนาชุมชนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ในอนาคต คือ ความเข้าใจในบริบทชุมชน การประสานงานที่มีประสิทธิภาพ และการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ชุมชนมีส่วนร่วมจนสามารถจัดการตนเองได้
No comments:
Post a Comment